รถเอกซเรย์เต้านมระบบ สามมิติ

รถคันที่ 1 รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ
รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ (3D)
ขนาดความสูง 3.8 เมตร ความยาว 12.0 เมตร

รถเอกซเรย์เต้านมระบบ ดิจิตอล

รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ (2 Dimensions)
ขนาดความสูง 3.8 เมตร ความยาว 12.0 เมตร

รถตรวจมะเร็งเต้านม

รถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ ขนาดความสูง 3.7 เมตร ความยาว 10.0 เมตร

รถนิทรรศการ

รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่
ขนาดความสูง 3.7 เมตร ความยาว 10.0 เมตร

ข้อมูลขบวนรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

(สนับสนุนโดย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิกาญจนบารมี นำหน่วยคัดกรองฯ มาให้บริการกับประชาชน ซึ่งภายในขบวนรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ขบวนภาคกลางและภาคใต้ ประกอบด้วยรถ 4 คัน ดังนี้ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ    รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่และรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่

รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติและระบบสองมิติ

รถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่และรถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่

รถคันที่ 1 รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ

รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ (3D) ขนาดความสูง 3.8 เมตร ความยาว 12.0 เมตร ด้านข้างมีบันไดยื่นจากตัวรถประมาณ 1 เมตร ใช้กระแสไฟฟ้า แบบ single phase แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ขนาด 80 แอมป์ ประกอบด้วย จุดลงทะเบียนซักประวัติผู้มารับบริการด้านหน้าห้องตรวจ ห้องสำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อเตรียมเข้ารับการตรวจ ห้องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) และห้องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) โดยนักรังสีเทคนิคการแพทย์ทำการเอกซเรย์เต้านมผู้มารับบริการ จากนั้นภาพเอกซเรย์ที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องอัลตราซาวด์ ซึ่งรังสีแพทย์ทำการวินิจฉัยผล โดยการทำอัลตราซาวด์ร่วมด้วย

ห้องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

ผู้รับผิดชอบดูแลคือ นักรังสีเทคนิคการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องมีเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล ระบบสามมิติยี่ห้อ Hologic รุ่น 3 Dimensions (Digital Mammogram with Tomosynthesis) สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์ได้ทั้งแบบ 2 Dimensions และ 3 Dimensions ในครั้งเดียว โดยการเอกซเรย์ระบบดิจิตอลคือ การแปลงคลื่นรังสีเอกซ์ให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปของจุด (Digit) เนื่องจากภาพถ่ายเอกซเรย์ระบบสามมิติที่ได้จะตัดเป็น Slide สามารถดูขอบเขต แยกก้อนเนื้อ ไขมัน เนื้อเยื่อเต้านม รวมถึงการตรวจพบแคลเซียมขนาดเล็กมากๆ ที่คาดว่าอาจจะผิดปกติ ช่วยให้รังสีแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น แต่อาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าการเอกซเรย์ดิจิตอลระบบสองมิติ รวมถึงปริมาณรังสีที่ผู้มารับบริการจะได้รับมีความแตกต่างกัน

เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบสามมิติยี่ห้อ Hologic รุ่น 3 Dimensions

นักรังสีเทคนิคการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคการแพทย์อธิบายการเตรียมถ่ายภาพเอกซเรย์

โดยถ่ายภาพแบบ The Cranio – Caudal view (CC view) และ The Medio – Lateral view (MLO view)

ห้องอัลตราซาวด์ (Ultrasound)

ห้องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) สำหรับอัลตราซาวด์เต้านม มีทั้งระบบ Manual (อัลตราซาวด์โดยรังสีแพทย์) และระบบอัลตราซาวด์เต้านมอัตโนมัติแบบสามมิติ (Automated Breast Ultrasound Scanner – SOFIA) เป็นการอัลตราซาวด์โดยการนอนคว่ำลงบนเตียง SOFIA ทาเจลอัลตราซาวด์บนตำแหน่งสแกนและนำเต้านมวางแนบสัมผัสกับตำแหน่งสแกน โดยให้หัวนมสัมผัสที่ปลายหัวตรวจ (Ultrasound Probe) หัวตรวจจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในลักษณะเป็นวงกลมจนกระทั่งครบ 360 องศาและสแกนภาพออกมาให้รังสีแพทย์  โดยแพทย์หญิงผลินทร์ ผดุงมาตรวรกุล รังสีแพทย์ประจำมูลนิธิกาญจนบารมีจะทำการอัลตราซาวด์และอ่านผลเอกซเรย์ (Mammogram) เพื่อวินิจฉัยผลการตรวจให้ผู้มารับบริการหลังตรวจเสร็จทันที การรายงานผลการตรวจเป็นไปตามมาตรฐานสากลแบบ Breast Imaging Reporting and Data System (BIRADS)

การตรวจอัลตราซาวด์โดยรังสีแพทย์

ระบบอัลตราซาวด์เต้านมอัตโนมัติแบบสามมิติ

(Automated Breast Ultrasound Scanner – SOFIA)

รังสีแพทย์วินิจฉัยผลจากภาพถ่ายเอกซเรย์ร่วมกับภาพอัลตราซาวด์

ระบบวินิจฉัยจากภาพถ่ายเอกซเรย์และอัตราซาวด์

รถคันที่ 2 รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ

รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ (2 Dimensions) ขนาดความสูง 3.8 เมตร ความยาว 12.0 เมตร ประกอบด้วย จุดลงทะเบียนซักประวัติผู้มารับบริการด้านหน้าห้องตรวจ ห้องสำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อเตรียมเข้ารับการตรวจ ห้องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) และห้องอัลตราซาวด์ (Ultrasound)โดยมีเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคการแพทย์ทำการเอกซเรย์เต้านมผู้มารับบริการ ภาพเอกซเรย์ที่ได้จะถูกส่งมายังห้องอัลตราซาวด์ ซึ่งมีรังสีแพทย์ทำการอัลตราซาวด์เต้านมผู้มารับบริการและวินิจฉัยผลในทันที

ห้องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

ผู้รับผิดชอบดูแลคือ นักรังสีเทคนิคการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องมีเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบสองมิติยี่ห้อ Hologic รุ่น 2 Dimensions (Digital Mammogram) ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ได้ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและง่ายต่อการตรวจ ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการเอกซเรย์ดิจิตอลระบบสามมิติ ทั้งนี้ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเอกซเรย์ระบบดิจิตอลคือ รังสีแพทย์สามารถเรียกดูภาพซ้ำได้ และสามารถส่งภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ที่อยู่ห่างไกลให้สามารถวินิจฉัยผลร่วมกันได้

ห้องอัลตราซาวด์ (Ultrasound)

สำหรับอัลตราซาวด์เต้านมผู้มารับบริการ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจหาความผิดปกติในเนื้อเยื่อเต้านม หากพบสิ่งผิดปกติคลื่นความถี่จะสะท้อนกลับมาทำให้รังสีแพทย์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อเต้านมกับลักษณะที่ผิดปกติได้ เช่น ก้อนเนื้อ cyst  เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อประกอบการวินิจฉัยร่วมกับภาพถ่ายเอกซเรย์

รถคันที่ 3 รถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ (Mobile Check Up Unit)

รถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ ขนาดความสูง 3.7 เมตร ความยาว 10.0 เมตร ด้านข้างมีบันไดยื่นจากตัวรถประมาณ 1 เมตร ใช้กระแสไฟฟ้า แบบ single phase แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ขนาด 30 แอมป์ ประกอบด้วยห้องตรวจผู้มารับบริการ 2 ห้อง  แพทย์หรือศัลยแพทย์จะตรวจโดยดูลักษณะภายนอก เช่น สีผิว รูปร่าง ขนาด ตำแหน่งของเต้านม ลักษณะหัวนม ต่อมน้ำเหลืองและคลำเต้านมผู้มารับบริการ รวมถึงอาจมีการอัลตราซาวด์เบื้องต้นร่วมด้วย เพื่อความแม่นยำ ในการกำหนดตำแหน่งที่คาดว่าจะผิดปกติ หากพบว่าผู้มารับบริการมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง จะถูกส่งต่อเพื่อตรวจเอกซเรย์และอัลตราซาวด์บนรถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ดังกล่าวมาข้างต้นต่อไป

ห้องตรวจเต้านม

ศัลยแพทย์ประจำมูลนิธิกาญจนบารมีหรือแพทย์ประจำพื้นที่ จะเป็นผู้ตรวจผู้มารับบริการ เพื่อเป็น การคัดกรองเบื้องต้นและหลังจากที่ผู้มารับบริการได้รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมและอัลตราซาวด์เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะอธิบายผลการตรวจให้ผู้มารับบริการทราบ รวมถึงให้ความรู้และตอบข้อซักถามต่างๆ เพื่อให้ผู้มารับบริการมีความเข้าใจและรู้สึกปลอดภัย รวมถึงการแนะนำการปฏิบัติ หากผู้มารับบริการจำเป็นต้องไปรักษาต่อยังโรงพยาบาล ตามสิทธิการรักษาของแต่ละบุคคล

รถคันที่ 4 รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่

รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ ขนาดความสูง 3.7 เมตร ความยาว 10.0 เมตร ด้านข้างรถเปิดเป็นเวทีขนาดกว้าง 1.5 เมตร ใช้กระแสไฟฟ้า แบบ single phase แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ขนาด 30 แอมป์ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงวิดีทัศน์จำนวน 2 ห้อง โดยวิดีทัศน์แสดงวิธีการสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast self – exam) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม เพื่อให้ผู้มารับบริการมีความรู้เบื้องต้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาพดีและห่างไกลมะเร็งเต้านม

ห้องจัดแสดงวิดีทัศน์

ทั้งนี้หลังจากชมวิดีทัศน์เรียบร้อยแล้ว ผู้มารับบริการจะได้รับการฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเองกับหุ่นเต้านม โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชี่ยวชาญเป็นผู้สอนและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองเบื้องต้น

รถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์

นอกจากนี้ ยังมีรถบรรทุก 6 ล้อ ยี่ห้อ ISUZU ( body type : บรรทุกอลูมิเนียม ) สำหรับบรรทุกวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ และของที่ระลึก จัดจำหน่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคกับทางมูลนิธิกาญจนบารมี อีกทั้งยังใช้จัดเก็บกระเป๋าเดินทางของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ รวมถึงการเดินทางของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ อาทิ การเดินทางกลับบ้านหรือเดินทางไปทำงาน การย้ายสถานที่ปฏิบัติงานในแต่ละวัน จะมีรถตู้ Toyota Commuter จำนวน 9 ที่นั่ง สำหรับรับส่งและอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่

วิดีทรรศน์กิจกรรม

กิจกรรมการออกหน่วยให้บริการประชาชน ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

การจัดการบริการคัดกรอง

กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทุกคน ลงทะเบียน ชั่งนำหนัก วัดส่วนสูง (ผู้รับบริการทุกคนต้องมี และเตรียมบัตรประชาชนมาด้วย)

กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทุกคนกรอกประวัติตามแบบคัดกรองฯ ที่มูลนิธิกาญจนบารมีจัดเตรียมไปให้ หลังจากนั้น

  • ทุกคนควรต้องผ่านการสอนและฝึกตรวจเต้านม โดยหุ่นที่มูลนิธิกาญจนบารมีจัดเตรียมให้
  • ทกคนควรต้องได้รับความรู้เรื่องมะเร้งเต้านมจากรถนิทรรศการ (รถหมายเลข ๓) ซึ่งจัดทำเป็นวีดิทัศน์ ความยาวประมาณ ๕ นาที
  • ผู้ที่กรอกประวัติตามแบบคัดกรองฯแล้ว หากพบว่ามีความผิดปกติในข้อ ๑ และ ๒ (ตามรายละเอียดในแบบคัดกรอง) ทุกรายจะได้รับการส่งตัวไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจคลำเต้านมในห้องตรวจที่จัดเตรียมไว้ หากตรวจพบความผิดปกติ จะส่งตัวขึ้นไปตรวจคลำเต้านมบนรถสาธิต และตรวจมะเร็งเต้านม (รถหมายเลข ๒) โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าความทำ Mammogram หรือไม่ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในรายที่มีก้อนโตชัดเจน แพทย์อาจส่งตัวไปโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นได้เลย
  • ที่พบว่ามีความผิดปกติในข้อ ๑ และ ๒ (ตามรายละเอียดในแบบคัดกรอง) มูลนิธิกาญจนบารมีจะกำหนดว่า เป็นข้อพิจารณาว่าควรทำ mammogram แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา จึงได้กำหนดให้ทำ mammogram จำนวน ๓๐ ราย ต่อวัน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของรังสีแพทย์
  • ส่งผู้รับบริการที่ได้รับการตรวจเต้านมแล้ว และแพทย์พิจารณาว่าต้องส่งทำ mammogram ไปที่รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (รถหมายเลข ๑) จะมีจุดลงทะเบียนบนรถ
  • ผู้รับบริการเปลี่ยนเสื้อ แล้วสวนเสื้อคลุมเพื่อเข้าทำ mammogram และ ultrasound เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะพิมพ์ผลตรวจ จำนวน ๓ ใบ เพื่อส่งมอบใหผู้รับบริการ จำนวน ๑ ใบ ส่งมอบให้ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จำนวน ๑ ใบ และจัดเก็บที่มูลนิธิกาญจนบารมี จำนวน ๑ ใบ
  • ผู้รับบริการนำผลตรวจ mammogram และ ultrasound ไปพบแพทย์บนรถสาธิตและตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่(รถหมายเลข ๒) เพื่อให้แพทย์พิจารณาผล ทั้งที่ปกติ หรือ/ และผิดปกติเพื่อส่งตัวไปรับการรักษาต่อ โดยใช้เอกสารใบส่งตัวรักษาต่อของจังหวัดเพื่อให้เข้าระบบการรักษาของโรงพยาบาล

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดการบริการนั้น ขอความอนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดจัดเตรียม ห้องตรวจคลำเต้านมที่มิดชิด พร้อมเตียงตรวจ โต๊ะและเก้าอี้ ตามจุดบริการต่าง ๆ โดยจำนวนขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ

ฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ผู้มารับบริการจะได้รับการฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเองกับหุ่นเต้านม โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชี่ยวชาญเป็นผู้สอนและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองเบื้องต้น

ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา

ภาคกลาง

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันออก

  • ไม่มีข้อมูล

ภาคใต้

ภาคเหนือ

ภาคอีสาน

ภาคกลาง

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันออก

  • ไม่มีข้อมูล

ภาคใต้

ภาคเหนือ

ภาคอีสาน

ภาคกลาง

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันออก

  • ไม่มีข้อมูล


ภาคใต้

ภาคเหนือ

ภาคอีสาน