โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่
ปัจจุบัน มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็ง ที่พบมากที่สุด
และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับแรกๆ ของสตรีไทย ในปี 2553
พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 13,184 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4,665 ราย หรือ
ทุก 2 ชั่วโมง จะพบสตรีไทยเสียชีวิต ด้วยมะเร็งเต้านม 1 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะหลัง ๆ ซึ่งจะมีการลุกลามและแพร่กระจายไปแล้ว ประมาณ ร้อยละ 56
ปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเกิด
มะเร็งเต้านม
- อายุ
- ประวัติดรอบครัว (พันธุกรรม และยืน)
- ประวัติส่วนตัว (ฮอร์โมน, การมีบุตร)
- พฤติกรรมการดำเนินชีวิต (อาหาร, น้ำหนักกาย, แอลกอฮอล์)
- การได้รับรังสีรักษา
อายุ
- หญิง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
ประวัติครอบครัว
- แม่ พี่สาว หรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งรังไข่ (โดยเฉพาะถ้าพบเป็นมะเร็งก่อน วัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงมากขึ้น)
- ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งเต้านม BRCA1, BRCA2 (BRCA : BREAST CANCER คือ ยีนที่ควบคุมการเกิดมะเร็งเต้านม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการก่อกลายพันธุ์ จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งได้)
ประวัติส่วนตัว
- มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
- เป็นโสด ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
- หมดประจำเดือนช้าหลังอายุ 50 ปี
- มีบุตรคนแรกเมื่ออายุ 35 ปี
- ได้รับฮอร์โมนทดแทนหลังหมดประจำเดือนนานกว่า 5 ปี
- รับประทานยาคุมกำเนิดเกินกว่า 10 ปี (จากการ ศึกษายังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน) ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น จะมีผลกระทบต่อฮอร์โมน เอสโตรเจนในร่างกาย และพบว่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมีส่วน เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม
- เป็นโรคเกี่ยวกับเต้านม ได้แก่
-
- เป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งแล้ว
- เคยเป็นโรคที่เต้านม เช่น ซีสต์ (cyst) ที่มีการแบ่งตัวของเยื่อบุมากขึ้น
พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
- รับประทานอาหารประเภทไขมันสัตว์สูง
- ดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ (จากการศึกษาพบว่าแอลกอฮอล์ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงขึ้น)
- หญิงที่มีน้ำหนักมวลกายมาก (Obesity) มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักมวลกาย ปกติ
- ออกกำลังกายน้อยกว่าวันละ 30-60 นาที
การได้รับรังสีรักษา
ได้รับการฉายรังสี บริเวณหน้าอก ก่อนอายุ 30 ปี โดยเฉพาะผู้ได้รับการ ฉายรังสีรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s disease)
การป้องกัน
มะเร็งเต้านม
การปัองกันมะเร็งเต้านม
การป้องกันมะเร็งเต้านม คือ ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน และการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจ พบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งทกำได้ 2 วิธี คือ
1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งสามารถคลำพบก้อน ที่โตประมาณ 1 ซม. ขึ้นไปได้ หากตรวจพบในระยะ 2-5 ซม. อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ 90-75 หากคลำพบก้อนขนาด 5 ซม. ขึ้นไป อัตราการ อยู่รอดมีเพียงร้อยละ 30-15 เท่านั้น
2. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) จะสามารถพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด 3 – 5 มม. ขึ้นไป หากพบในระยะนี้การรักษาจะหายเกือบ 100% เพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมากยังไม่แพร่กระจายไปที่ อวัยวะอื่นๆ แต่การเอกซเรย์เต้านมนั้นไม่อยู่ใน สิทธิประโยชน์ตามหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
1. ดูการเปลี่ยนแปลงในกระจกเงา ในขณะที่แขนทั้ง 2 ข้าง
- แนบลำตัว
- ยกขึ้น
- เท้าเอว
ดูการเปลี่ยนแปลง
- ขนาด, สีของผิวหนัง
- รอยบุ๋มของผิวหนังและที่หัวนม
2. คลำบริเวณเต้านม ในท่ายืนหรือนอน
- ยกมือขวาไว้ด้านหลังของศีรษะ
- ใช้มือซ้ายตรวจเต้านมขวาโดย แบมือออก
- ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดลงบนเต้านมเบาๆ กดแรงขึ้น และ กดหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับ ให้ทั่วเต้านม และ รักแร้ เพื่อค้นหาก้อนหรือความหนาที่ผิดปกติ ของเต้านมโดยวนเป็นวงกลมเล็กๆ ไปรอบๆ จนถึงหัวนม
3. บีบที่หัวนม
โดยค่อยๆ บีบเบาๆ เพื่อตรวจดูว่ามีนำเหลือง หรือ เลือดออกมาหรือไม่
2. คลำบริเวณเต้านม ในท่ายืนหรือนอน
- ยกมือขวาไว้ด้านหลังของศีรษะ
- ใช้มือซ้ายตรวจเต้านมขวาโดย แบมือออก
- ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง กดลงบนเต้านมเบาๆ กดแรงขึ้น และ กดหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับ ให้ทั่วเต้านม และ รักแร้ เพื่อค้นหาก้อนหรือความหนาที่ผิดปกติ ของเต้านมโดยวนเป็นวงกลมเล็กๆ ไปรอบๆ จนถึงหัวนม
3. บีบที่หัวนม
โดยค่อยๆ บีบเบาๆ เพื่อตรวจดูว่ามีนำเหลือง หรือ เลือดออกมาหรือไม่
สิ่งผิดปกติบริเวณเต้านมที่ควรรีบปรึกษาแพทย์
1. คลำพบก้อน ตุ่ม หรือขึ้นแข็ง
2. มีอาการบวม แดง ร้อน หรือเต้านมมีสีผิวคล้ำขึ้น
3. มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดและรูปร่าง
4. มีการเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวหนังเต้านม เช่น ผิวหนังหยาบ มีรอยบุ๋ม รอยนูน และย่น
5. หัวนมมีลักษณะดึงรั้ง หรือลอกเป็นเกล็ด หรือ มีอาการค้น
6. มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม